Games News

ขยายอำนาจแข่งกับจีน! สหรัฐลงนามข้อตกลงด้านกลาโหมกับปาปัวนิวกินี

0 0
Read Time:3 Minute, 52 Second

มหาสมุทรแปซิฟิกเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มหาอำนาจของโลกอย่างจีนและสหรัฐฯ กำลังเดินหน้าพยายามแผ่ขยายอิทธิพล จากกรณีก่อนหน้านี้ที่จีนลงนามความร่วมมือทางทหารกับหมู่เกาะโซโลมอนไป ล่าสุดทางสหรัฐฯ ได้ลงนามในข้อตกลงด้านกลาโหมกับปาปัวนิวกินีแล้วในวันนี้ (22 พ.ค.)

ปาปัวนิวกินีตั้งอยู่ทางเหนือของออสเตรเลีย มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์และเคยเป็นพื้นที่ของการสู้รบที่ดุเดือดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า ข้อตกลงนี้จะมอบเงิน 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.5 พันล้านบาท) ให้ปาปัวนิวกินี เพื่อช่วยยกระดับความร่วมมือด้านความมั่นคง รวมถึงอุปกรณ์ป้องกันสำหรับกองกำลังป้องกันประเทศ บวกกับความช่วยเหลือในการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการกับอาชญากรรมข้ามชาติ และเอชไอวี/เอดส์

กระทรวงฯ กล่าวว่า “ข้อตกลงความร่วมมือด้านกลาโหมครั้งนี้จะยกระดับความร่วมมือด้านความมั่นคงและกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีของเราให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ปรับปรุงขีดความสามารถของกองกำลังป้องกันประเทศปาปัวนิวกินี และเพิ่มเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค”

ด้านนายกรัฐมนตรีปาปัวนิวกินี เจมส์ มารา กล่าวว่าข้อตกลงดังกล่าวจะช่วยให้ประเทศเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญ “เรามีปัญหาทั้งความมั่นคงภายใน เช่นเดียวกับปัญหาความมั่นคงอธิปไตยของเรา … เรากำลังก้าวไปข้างหน้าเพื่อให้แน่ใจว่าพรมแดนของเราปลอดภัย”

จีนพบแหล่งทองคำ 580 ตันในซานตง รวมมูลค่ากว่า 2 แสนล้านหยวน!

พบหลักฐาน มนุษย์รู้จัก “การจูบ” ตั้งแต่ยุคเมโสโปเตเมีย 4,500 ปีก่อน

จีนสั่งแบนชิปของบริษัทสหรัฐฯ “ไมครอน” อ้างเหตุผลความมั่นคง คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เขากล่าวว่าข้อตกลงดังกล่าวจะช่วยให้ปาปัวนิวกินีสามารถเข้าถึงการเฝ้าระวังด้วยดาวเทียมของสหรัฐฯ เพื่อต่อสู้กับ “กิจกรรมที่ผิดกฎหมายในทะเลหลวง” ได้

อย่างไรก็ดี เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สำเนาร่างข้อตกลงความร่วมมือด้านกลาโหมครั้งนี้เกิดรั่วไหลออกมาและจุดประกายความกังวลในปาปัวนิวกินี เกี่ยวกับขอบเขตของการมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐฯ ในประเทศ

มีรายงานว่า ข้อตกลงจะทำให้บุคลากรและผู้รับเหมาของสหรัฐฯ ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย อนุญาตให้เครื่องบิน ยานพาหนะ และเรือซึ่งดำเนินการโดยสหรัฐฯ หรืออยู่ในนามของสหรัฐฯ สามารถเคลื่อนไหวอย่างเสรีภายในอาณาเขตและน่านน้ำของปาปัวนิวกินี และยกเว้นเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ จากข้อกำหนดการย้ายถิ่นฐานทั้งหมด

นั่นทำให้การจะลงนามกันครั้งนี้มีเสียงคัดค้านจากประชาชนบางส่วนในประเทศ จนเกิดเป็นการประท้วงในวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยหลายแห่ง จากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของประเทศกับจีนซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญ

แต่วันนี้ มาราเปออกมาปฏิเสธว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ จะไม่มีความคุ้มกันทางกฎหมาย และกล่าวว่าจะไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายของประเทศ

เขากล่าวถึงการลงนามครั้งนี้ว่า “ผมต้องเสริมกำลังและปกป้องพรมแดนของประเทศ และรับประกันความปลอดภัยของประชาชน ดังนั้น สิ่งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับภูมิรัฐศาสตร์ ความร่วมมือนี้จะเสริมสร้างการป้องกันของเราและช่วยสร้างขีดความสามารถของเรา”

มาราเปเสริมว่า “นี่เป็นเพียงการยกระดับข้อตกลง SOFA (สถานะของกองกำลัง) ที่มีอยู่แล้วเท่านั้น และข้อตกลงนี้จะไม่ปิดกั้นเราจากการลงนามในข้อตกลงอื่นที่คล้ายคลึงกันกับประเทศอื่น ๆ รวมถึงจีน”

เขาบอกอีกว่า “เรามีอิสระที่จะลงนามในบริษัทด้านกลาโหมกับประเทศใดก็ตามที่มีค่านิยมและหลักการเดียวกับเรา และนั่นอาจรวมถึงมิตรของเราจากตะวันออกหรือตะวันตก รวมทั้งมิตรเก่าแก่ของเราในออสเตรเลีย สหรัฐฯ หรือแม้แต่จีน”

มาราเปกล่าวว่า หลังการลงนามในวันนี้ จะมีการเผยแพร่สำเนาของข้อตกลงต่อสาธารณะเพื่อความโปร่งใส

ทั้งนี้ เดิมทีประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน ควรจะเดินทางไปปาปัวนิวกินีเพื่อลงนามด้วยตัวเอง แต่ยกเลิกการเดินทางเพื่อเข้าร่วมการเจรจาเรื่องเพดานหนี้ในประเทศแทน และส่งแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาแทน ทำให้เกิดความกังวลว่าพันธมิตรของสหรัฐฯ ในมหาสมุทรแปซิฟิกมีความน่าเชื่อถือเพียงใด

ในขณะที่ข้อตกลงด้านกลาโหมของสหรัฐฯ-ปาปัวนิวกินีถูกวางกรอบเป็นข้อตกลงเพื่อปกป้องพรมแดนดินแดนของปาปัวนิวกินี ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การปรากฏตัวของจีนในมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวครั้งนี้

กอร์ดอน พีค ที่ปรึกษาอาวุโสด้านหมู่เกาะแปซิฟิกของสถาบันสันติภาพแห่งสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า “ปาปัวนิวกินีไม่ใช่แค่ด่านทางการทูตที่เงียบเหงาอีกต่อไปแล้ว … แม้จีนอาจไม่ได้ถูกกล่าวถึงในที่ใดในเอกสาร แต่ก็เป็นประเด็นที่ซ่อนอยู่ในเรื่องราวของความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-ปาปัวนิวกินีที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น”

มาราเปกล่าวว่า ข้อตกลงครั้งนี้จะไม่ปิดกั้นเขาจากการลงนามข้อตกลงที่คล้ายกันกับประเทศอื่น ๆ รวมถึงจีน

เรียบเรียงจาก Al Jazeera / The Guardian

ภาพจาก AFP

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %